Share

6 เทคนิค การเลือกเครื่องช่วยฟัง

Last updated: 5 Apr 2024
69 Views
6 เทคนิค การเลือกเครื่องช่วยฟัง

6 เทคนิค การเลือกเครื่องช่วยฟัง

1. ประเภทและระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยิน
เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการเลือกกำลังขยายของเครื่องช่วยฟังเพื่อให้เหมาะสมกับระดับการได้ยินของผู้ป่วย

2. อายุ
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นอาจมีปัญหาของกล้ามเนื้อมือ  ซึ่งมักจะอ่อนแรงหรือเกิดอาการสั่น  หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ทำให้มีความลำบากในการหยิบจับ การปรับปุ่มต่างๆ ของเครื่องช่วยฟัง
ส่วนการเลือกเครื่องช่วยฟังในเด็กนั้นจะมีข้อ จำกัดในการเลือกชนิดของเครื่องช่วยฟัง เนื่องจากสภาพการเจริญเติบโตของช่องหู ดังนั้น ในเด็กที่มีอายุน้อย  ควรใส่เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหู  เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนพิมพ์หูเมื่อมีขนาดของช่องหูใหญ่ขึ้น 

3. อาชีพ
อาชีพเป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องนำมาพิจารณาในการเลือกเครื่องช่วยฟัง  ให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เช่น ในผู้ป่วยบางรายที่ประกอบอาชีพ  ที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารหรือพบปะผู้คนในสังคม  อาจมีความต้องการใช้เครื่องช่วยฟังที่มีขนาดเล็ก  และผู้อื่นมองเห็นไม่ชัดเจน เพื่อความสวยงามและภาพลักษณ์ทางสังคม 
  
4. รูปแบบของเครื่องช่วยฟังและความสะดวกในการใช้งาน
รูปแบบของเครื่องช่วยฟัง และความสะดวกในการใช้งาน ขึ้นอยู่กับความต้องการ  และรูปแบบการใช้งานของผู้ป่วย
 
5. งบประมาณ
เครื่องช่วยฟังมีราคาที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของเครื่องช่วยฟัง ซึ่งการเลือกเครื่องช่วยฟัง ต้องขึ้นอยู่กับงบประมาณของผู้ป่วย  และความจำเป็นในการใช้งาน
 
6. บริการหลังการขาย
เครื่องช่วยฟังในปัจจุบันมีด้วยกันหลายยี่ห้อและหลายบริษัท ฉะนั้นการบริการหลังการขาย  จึงเป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจเลือกเครื่องช่วยฟัง เพราะเครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง  ที่ต้องการผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ  ในการซ่อมแซมเมื่อเครื่องช่วยฟังมีปัญหา

Related Content
หูดับฉับพลันอย่านิ่งนอนใจ
อาการประสาทหูเสื่อมชนิดเฉียบพลัน หรือ Sudden HearingLOรร จะมีช่วงเวลาวิกฤต (Golden hour) ที่ต้องมาพบแพทย์อย่างเร่งด่วนภายใน 24-48 ชั่วโมงแรกหรือเ ร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม จะมีโอกาสที่จะกลับมาได้ยินเป็นปกติได้
เสียงในชีวิตประจำวัน
โดยทั่วไปแล้วเสียงที่เราได้ยิน กันในชีวิตประจำวัน จะมีความถี่อยู่ในช่วงระหว่าง 20-20,000 เฮิรตซ์ เสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า 20 เฮิรตซ์ หรือสูงกว่า 20,000 เฮิรตซ์ มนุษย์เราจะไม่ได้ยิน แต่สัตว์บางชนิดจะได้ยิน เช่น สุนัข สามารถได้ยินที่ความถี่ 15-50,000 เฮิรตซ์ แมวสามารถได้ยินที่ความถี่ 60-65,000 เฮิรตซ์ เป็นต้น
เทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัยเมื่อคุณมีปัญหาการได้ยิน
คุณใช้การได้ยินมากแค่ไหนในขณะขับรถ? บางทีอาจจะมากกว่าที่คุณคิด แม้ว่าสายตาจะเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญที่สุดเมื่อคุณได้นั่งลงที่หลังพวงมาลัย แต่คุณทราบหรือไม่ว่าการได้ยินช่วยให้คุณได้ยินเสียงสัญญาณต่างๆ เช่น ไซเรนรถพยาบาล แตรรถ และเสียงเตือนต่างๆ แม้ว่าการสูญเสียการได้ยินอาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบมากต่อการขับรถของคุณ แต่การได้ยินมีประโยชน์ในเรื่องของการช่วยระมัดระวังต่างๆได้มากขึ้น
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว and นโยบายคุกกี้
Compare product
0/4
Remove all
Compare
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy