6 เทคนิค การเลือกเครื่องช่วยฟัง
6 เทคนิค การเลือกเครื่องช่วยฟัง
1. ประเภทและระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยิน
เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการเลือกกำลังขยายของเครื่องช่วยฟังเพื่อให้เหมาะสมกับระดับการได้ยินของผู้ป่วย
2. อายุ
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นอาจมีปัญหาของกล้ามเนื้อมือ ซึ่งมักจะอ่อนแรงหรือเกิดอาการสั่น หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ทำให้มีความลำบากในการหยิบจับ การปรับปุ่มต่างๆ ของเครื่องช่วยฟัง
ส่วนการเลือกเครื่องช่วยฟังในเด็กนั้นจะมีข้อ จำกัดในการเลือกชนิดของเครื่องช่วยฟัง เนื่องจากสภาพการเจริญเติบโตของช่องหู ดังนั้น ในเด็กที่มีอายุน้อย ควรใส่เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหู เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนพิมพ์หูเมื่อมีขนาดของช่องหูใหญ่ขึ้น
3. อาชีพ
อาชีพเป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องนำมาพิจารณาในการเลือกเครื่องช่วยฟัง ให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เช่น ในผู้ป่วยบางรายที่ประกอบอาชีพ ที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารหรือพบปะผู้คนในสังคม อาจมีความต้องการใช้เครื่องช่วยฟังที่มีขนาดเล็ก และผู้อื่นมองเห็นไม่ชัดเจน เพื่อความสวยงามและภาพลักษณ์ทางสังคม
4. รูปแบบของเครื่องช่วยฟังและความสะดวกในการใช้งาน
รูปแบบของเครื่องช่วยฟัง และความสะดวกในการใช้งาน ขึ้นอยู่กับความต้องการ และรูปแบบการใช้งานของผู้ป่วย
5. งบประมาณ
เครื่องช่วยฟังมีราคาที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของเครื่องช่วยฟัง ซึ่งการเลือกเครื่องช่วยฟัง ต้องขึ้นอยู่กับงบประมาณของผู้ป่วย และความจำเป็นในการใช้งาน
6. บริการหลังการขาย
เครื่องช่วยฟังในปัจจุบันมีด้วยกันหลายยี่ห้อและหลายบริษัท ฉะนั้นการบริการหลังการขาย จึงเป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจเลือกเครื่องช่วยฟัง เพราะเครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่ต้องการผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในการซ่อมแซมเมื่อเครื่องช่วยฟังมีปัญหา