โรคโควิด-19 เป็นสาเหตุให้เกิดเสียงดังในหู หรือสูญเสียการได้ยินได้หรือไม่?

โรคโควิด-19 เป็นสาเหตุให้เกิดเสียงดังในหู หรือสูญเสียการได้ยินได้หรือไม่?
 
  • โควิด-19 หรือ COVID-19 เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ส่วนใหญ่ทำให้เกิดปัญหาของระบบทางเดินหายใจ ดังอาการที่พบบ่อย ได้แก่ หอบเหนื่อย ไอ เจ็บคอ แต่ในผู้ป่วยบางราย พบอาการเกี่ยวกับระบบประสาทได้เช่นกัน
  • จากการศึกษาในผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 214 ราย ที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ ในระดับความรุนแรงแตกต่างกัน
  • พบว่า 36.4% มีอาการเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทรอบนอก และกล้ามเนื้อยึดกระดูก
  • มีหลักฐานว่า ไวรัสนี้อาจไปทำลายอวัยวะเกี่ยวกับการได้ยิน บริเวณหูชั้นใน
  • สมาคมเสียงดังในหูของอเมริกัน (American Tinnitus Association) ได้ให้ข้อมูลว่า เป็นไปได้ที่ผู้ป่วยโควิด-19 อาจมีปัญหาเสียงดังในหู (Tinnitus) จากภาวะเครียด และซึมเศร้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกักตัว และการหลีกเลี่ยงไม่ให้ติดเชื้อ
  • ตัวอย่างเช่น คนที่เป็นโรควิตกกังวลทั่วไป มีแนวโน้มถึงเกือบ 7 เท่า ที่จะมีปัญหาเสียงดังในหูแบบเรื้อรัง
 
 
การใช้ยาบางชนิดสามารถทำให้เกิดหูอื้อหรือสูญเสียการได้ยิน
  • ในอดีตพบว่า ยาในตระกูลควินิน เคยใช้ป้องกันและรักษาโรคมาลาเรีย ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มยาที่มีพิษต่อประสาทหู (Ototoxicity)
  • ได้มีการทดลองใช้ยาไฮดรอกซีคลอโรควิน เพื่อรักษาโควิด-19 พบว่ามีความเสี่ยงต่อประสาทหูน้อยกว่า
  • ส่วนยาอีกชนิด คือ เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาที่มีพิษต่อประสาทหูในขณะนี้ ตามข้อมูลจากผู้ผลิต Gilead Sciences, Inc.
 
 
 
Sources:
www.starkey.com/blog/articles/2020/06/can-covid-cause-hearing-loss
Symptoms of Coronavirus https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/symptoms-testing/symptoms.html
Neurologic Manifestations of Hospitalized Patients With Coronavirus Disease 2019 in Wuhan, China https://jamanetwork.com/journals/jamaneurology/fullarticle/2764549
Understanding the facts. https://www.ata.org/understanding-facts/related-conditions
Seçkin U, Ozoran K, Ikinciogullari A, Borman P, Bostan EE. Hydroxychloroquine ototoxicity in a patient with rheumatoid arthritis. Rheumatol Int. 2000;19:203–204.
 

Neeuro SenzeBand

Neeuro SenzeBand ดูทั้งหมด

เสียงในชีวิตประจำวัน

โดยทั่วไปแล้วเสียงที่เราได้ยิน กันในชีวิตประจำวัน จะมีความถี่อยู่ในช่วงระหว่าง 20-20,000 เฮิรตซ์ ดูทั้งหมด

เทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัยเมื่อคุณมีปัญหาการได้ยิน

คุณใช้การได้ยินมากแค่ไหนในขณะขับรถ? บางทีอาจจะมากกว่าที่คุณคิด ดูทั้งหมด

ทำไมสุขภาพการได้ยินจึงสำคัญ?

...กระตุ้นสมองและการได้ยินไปพร้อมกัน.... ดูทั้งหมด

หูดับฉับพลันอย่านิ่งนอนใจ

Sudden hearing loss ดูทั้งหมด

หลังผ่าตัดใส่อุปกรณ์รับเสียงฝังหูชั้นใน ทำไมต้องฝึกฟัง?

27 พ.ย. 2564 เวลา 13.30 - 14.15 น. ดูทั้งหมด